วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


คุณธรรม (อังกฤษVirtue) เป็น มุมมองแง่หนึ่งของ จริยธรรม ซึ่งคำนึงถึง สิ่งที่ถูกและผิด โดยมีหลักใหญ่สามประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในแต่ล่ะบุคคล ระบบยุติธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม และ ธรรมเนียมปฏิบัติ สภาพคุณความดี หรือคุณลักษณะที่แสดงออกของความดี ที่แสดงออกด้วยการปฏิบัติและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป
คุณธรรมบุคคล คือการพิจารณา และ จำแนกระหว่างสิ่งที่ถูกและผิด ตามเจตนา แรงจูงใจ หรือการกระทำ
คุณธรรม คือ นามธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิตสำนึกของมนุษย์ที่ตระหนักถึงความผิดชอบชั่วดี

คุณธรรมและค่านิยม

คุณธรรมเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงมาตราฐานทางศีลธรรม และเป็นรูปแบบของความคิดและการกระทำบนพื้นฐานของมาตราฐานทางศีลธรรม คุณธรรมอาจนับรวมในบริบทกว้างๆของค่านิยม บุคคลแต่ละคนละมีแก่นของค่านิยมภายใจที่ เป็นหลักของความเชื่อ ความคิด ความเห็น ของคนๆนั้น ความซื่อสัตย์ต่อเอง (integrity) ในแง่ของค่านิยม คือคุณธรรมที่ เชื่อมค่านิยมของคนๆนั้นเข้ากับ ความเชื่อ ความคิด ความเห็น และ การกระทำของเขา สังคมมีค่านิยมร่วมที่คนในสังคมยึดถือร่วมกัน ค่านิยมส่วนตัว โดยทั่วไปแล้ว มักจะเข้ากับค่านิยมของสังคม



คุณธรรมของบุคคล สามารถจัดได้เป็น 4 กลุ่มแบ่งตามค่านิยม:
  • จริยธรรม (ดี - เลว, มีศีลธรรม - ขัดศีลธรรม - ไร้ศีลธรรม, ถูก - ผิด)
  • สุนทรียภาพ (ไม่สมดุลย์, พอใจ)
  • ลัทธิคำสอน (การเมือง, ศาสนา, ค่านิยมและกระแสสังคม)
  • คุณธรรมโดยกำเนิดสันดาน
คุณธรรมสำคัญของวัฒนธรรมตะวันตกคลาสสิก (The four classic Western Cardinal virtues) คือ:
ซึ่งคุณธรรมเหล่านี้มีที่มาจากปรัชญากรีก เช่น งานเขียนของ พลาโต ซึ่งอาจรวมถึงงานของโซคราติส

[แก้]คุณธรรม ตามคำสอนของอริสโตเติล

อริสโตเติลนิยาม คุณธรรม ว่าคือ จุดสมดุลย์ระหว่างความขาดและเกินของคุณลักษณะ[1] โดยคุณธรรมสูงสุดไม่ได้อยู่ที่ตรงกลางๆ แต่อยู่ที่จุดเฉลี่ยทอง ที่บางครั้งก็ใกล้ปลายหนึ่งมากกว่าอีกปลายหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ความกล้าหาญ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขี้ขลาด กับ ความโง่เขลา ความมั่นใจ เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความน้อยเนื้อต่ำใจ กับ ความหลงตัวเอง ความโอบอ้อมอารี เป็นจุดเฉลี่ยระหว่าง ความขัดสน กับ ความฟุ้มเฟือย
อริสโตเติลเชื่อว่า การเป็นคนเป็นสิ่งประเสริญ ที่ได้มีทักษะเในการดำรงชีวิต ในการเจริญก้าวหน้า ในการมีความสัมพันธ์ที่ดี และในการแสวงหาความสุข การเรียนรู้คุณธรรมอาจจะยากตอนแรกๆ แต่มันจะง่ายขึ้นถ้าได้รับการฝึกฝนจนเป็นนิสัย

คุณธรรม ตามศาสนาคริสต์

ศาสนาคริสต์ ถือว่า ความศรัทธา (faith), ความหวัง (hope), และ ความรัก (love) คือ คุณธรรม โดยคุณธรรมทั้งสามนี้มาจาก 1 Corinthians 13:13 (νυνι δε μενει πιστις ελπις αγαπη τα τρια ταυτα μειζων δε τουτων η αγαπη (pistis, elpis, agape)).

[แก้]คุณธรรม ตามความเชื่อของมุสลิม

โดยทั่วไปแล้ว มุสลิมเชื่อว่า อัลกุรอาน เป็นแหล่งรวบรวมคุณธรรมทั้งหมดไว้ อิสลามโดยชื่อแล้ว หมายถึง การยอม ซึ่งคือ การยอมรับประสงค์ของอัลลอฮ์ การยอมรับสิ่งต่างๆในแบบที่มันเป็น คุณธรรมที่เด่นที่สุดคือ ความกรุณา และ ความเมตตา โดยแต่บทของทั้ง 114 บทใน อัลกุรอาน (โดยยกเว้น แค่บทเดียว) เริ่มต้นด้วย "In the name of God the Compassionate, the Merciful".[2]
คุณธรรม ตามความเชื่อของมุสลิม: การสวดมนต์, การสำนึกบาป, ความซื่อสัตย์, ความจงรักภักดี, ความจริงใจ, การประหยัด, ความรอบคอบ, ความรู้จักประมาณ, การควบคุมตัวเอง, วินัย, ความพากเพียร, ความอดทน, ความหวัง, ศักดิ์ศรี, ความกล้าหาญ, ความยุติธรรม, ความใจกว้าง (tolerance), ปัญญา, การพูดดี, ความเคารพ, ความบริสุทธิ์, ความสุภาพ, ความใจดี, ความรู้คุณ, ความโอบอ้อมอารีย์, ความพอใจ[3]

[แก้]คุณธรรม ตามศาสนาฮินดู

  • การเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น (Altruism): การบำเพ็ญประโยชน์กับมนุษยชาติอย่างไม่เห็นแก่ตัว
  • การควบคุมตัวเอง (Self Control) และการรู้จักพอประมาณ (Moderation): การรู้จักควบคุมตัวเองและพอประมาณในทุกๆสิ่ง ความสัมพันธ์ทางเพศ อาหาร กิจกรรมบันเทิงต่างๆ
  • ความซื่อสัตย์ (Honesty): การซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อเพื่อน ต่อมนุษยชาติ
  • ความสะอาด (Cleanliness): ความสะอาดภายนอกคือการรักษาสุขภาพและสุขลักษณะที่ดี ความสะอาดภายในคือการบูชาพระเจ้า ความไม่เห็นแก่ตัว อหิงสา การละเว้นจากของมึนเมาต่างๆ
  • การปกป้องและเคารพต่อโลก (Protection and reverence for the Earth)
  • การใจกว้าง (Universality): การเป็นคนใจกว้างและเคารพทุกๆคน ทุกๆสิ่ง และวิถีของเอกภพ
  • การมีสันติภาพ (Peace): การฝึกนิสัยให้มีกริยาที่สงบสันติเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลรอบข้าง
  • การไม่ใช้ความรุนแรง/อหิงสา (Non-Violence/Ahimsa): การไม่ฆ่าหรือการทำรุนแรงกับสิ่งมีชีวิตใดๆไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม
  • การให้ความเคารพคนชราและครูอาจารย์ (Reverence for elders and teachers)

[แก้]คุณธรรม ตามศาสนาพุทธ

พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตามแนวทางของมรรค ๘ ซึ่งอาจนับเป็นรายการจำแนกคุณธรรม ดังนี้ 1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เข้าใจอริยสัจ 4 2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม 3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม 4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง 5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน 6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม 7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ 8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ยังมี Buddhavamsa[4] โดย the Ten Perfections (dasa pāramiyo) ได้แก่:
  1. ทาน Dāna parami : ความโอบอ้อมอารีย์ การเสียสละตน
  2. ศีล Sīla parami : ศีลธรรม การประพฤติตนอย่างเหมาะสม
  3. เนกขัมมะ Nekkhamma parami : การสละจากทางโลก.
  4. ปัญญา Paññā parami การรู้ซึ้งเข้าใจธรรม
  5. วิริยะ Vīriya parami : ความพยายาม ความขยัน พากเพียร
  6. ขันติ Khanti parami : ความอดทน ความใจกว้าง
  7. สัตย์ Sacca parami : ความถึงซื่งความจริง ความซื่อสัตย์
  8. อธิฐาน Adhiṭṭhāna parami : ความแน่วแน่ มุ่งมั่น
  9. เมตตา Mettā parami : ความหวังดี ความใจดี ความเห็นอกเห็นใจ
  10. อุเบกขา Upekkhā parami : การรู้จักปล่อยวาง การยอมรับสิ่งต่างๆตามสภาพที่เป็น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น